LANGKASUKA QUEEN
"LANGKASUKA (Kingdom of Langkasuka): An ancient grand kingdom believed to have expanded into northern Malaysia because ancient structures similar to those found in Pattani were also discovered along the banks of the Bujang River and Padang Lawas (Lavas River mouth) in Kedah. According to historical texts, it is referred to as "Ancient City Yarang" because ruins of the old city were found in Yarang District. This area thrived significantly before the establishment of the Srivijaya and Dvaravati kingdoms by 500 years. Srivijaya and Dvaravati were founded in the 12th Buddhist century, while Langkasuka was a prominent city-state known in both the Western and Eastern worlds since the 7th Buddhist century. Thus, Ancient City Yarang is not just an ordinary town but a major city-state of great significance in this region."
LANGKASUKA (อาณาจักรลังกาสุกะ) อาณาจักรโบราณยิ่งใหญ่ที่เชื่อว่ามีพื้นที่คลุมไปถึงตอนเหนือมาเลเซีย เพราะพบสิ่ง ก่อสร้างโบราณ แบบเดียวกับที่พบ ในปัตตานีแถวริมฝั่งแม่น้ำบูจัง และปาดังลาวาส (ปากแม่น้ำลาวาส) ในรัฐเคดาห์ ตามตำรามรการเรียกขาลว่า "เมืองโบราณยะรัง" เพราะซากเมืองเก่าพบที่ อ.ยะรัง ทั้งที่มีความเก่าแก่รุ่งเรืองมาก่อน อาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักร ทวาราวดีตั้ง 500 ปี ศรีวิชัยและทวาราวดีตั้งในพุทธศตวรรษที่ 12 ลังกาสุกะเป็นนครรัฐที่โลกตะวันตกตะวันออกรู้จักกัน ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เมืองโบราณยะรังจึงไม่ใช่เมืองเก่าธรรมดา หากแต่เป็นเมืองท่านครรัฐที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคนี้
THE BRONZE STATUE OF HARIHARA
"Sukhothai (อาณาจักรสุโขทัย), a northern city-state (1239 – 1438 CE), was a historical state located on the Yom River basin. It was established around the 18th century in the Buddhist Era as a trading post of the Lavo Kingdom. Around the year 1239 CE, Phokhun Bang Klang Hao and Phokhun Phameung seized power from the Khmer lord, Sobat Khlon Lamphong. They successfully established the independence of the Sukhothai state, turning it into the Sukhothai Kingdom, which flourished and reached its peak under King Ramkhamhaeng the Great. The kingdom gradually declined due to both internal and external problems, eventually becoming part of the Ayutthaya Kingdom."
SUKHOTHAI (อาณาจักรสุโขทัย) หัวเมืองเหนือ (พ.ศ. 1792 – 1981) เป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี พ.ศ. 1792 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมกันกระทำการ ยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงเป็นผลสำเร็จ และได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความ เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ และเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจาก ปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด
LANNA TRADITIONAL TOBACCO
"BURMESE LANNA (อาณาจักรล้านนาในปกครองของพม่า) King Bayinnaung of the Toungoo Dynasty successfully conquered the city of Chiang Mai as a vassal. He also seized nearby territories as vassals. Consequently, the Burmese sent rulers from their side to govern, ensuring the orderliness of Chiang Mai. Additionally, they conscripted the people of Chiang Mai and prepared provisions for war against Ayutthaya."
BURMESE LANNA (ล้านนา-พม่า) พระเจ้าบุเรงนองแห่งราชวงศ์ตองอู ได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่ไปประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวง และเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝ่ายพม่ามาปกครองแทน เพื่อคอย ดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่ และอีกประการหนึ่งก็เพื่อที่จะเกณฑ์พลชาวเชียงใหม่ และเตรียมเสบียงอาหารเพื่อไป ทำศึกสงครามกับทางกรุงศรีอยุธยา
CAMADEVI THE QUEEN
"HARIPUNCHAI (Kingdom of Hariphunchai) was a Mon kingdom located in the present-day northern region of Thailand. According to the ancient Chamadevi Chronicle, the sage Vasudeva founded the city of Hariphunchai in 767 AD and invited Queen Chamadevi, a princess from the Lavo Kingdom, to rule over Hariphunchai. At that time, Queen Chamadevi brought about ten thousand monks, scholars, and artisans from Lavo with her. She nurtured and developed the city, making Hariphunchai a flourishing center of art and culture."
HARIPUNCHAI (หริภุญชัย) เป็นอาณาจักรมอญ ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจาก อาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะ จากละโว้ราวหมื่นคนติดตามไป พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัยนั้น เป็นแหล่ง ศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง
ROYAL TONSURE CEREMONY
"RATTANAKOSIN Kingdom, or Rattanakosin Kingdom, is the Kingdom of Thailand that began with the relocation of the capital from Thonburi to Bangkok, situated on the eastern side of the Chao Phraya River. King Buddha Yodfa Chulaloke, the first monarch of the Chakri Dynasty, ascended the throne on April 6, 1782."
RATTANAKOSIN (รัตนโกสินทร์) อาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
THE GOLDEN BOY
"MAHIDHARAPURA (มหิธรปุระ), sometimes referred to by scholars as the 'Mahidharapura Royal Lineage,' had 11 kings ruling the Angkor Empire. The first king was King Jayavarman VI, and the last was King Jayavarman IX. Some scholars hypothesize that the origin of the dynasty might be more Indian than local because the kings' names ended with 'Varman,' which matches several Indian kings' names. Furthermore, the Varman dynasty once ruled in India during the Gupta and post-Gupta periods, both in North and South India."
MAHIDHARAPURA (มหิธรปุระ) นักวิชาการบางส่วนเรียกว่า "ราชสกุลมหิธรปุระ" มีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรพระนคร จำนวน 11 พระองค์ กษัตริย์พระองค์แรกคือพระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 กษัตริย์องค์สุดท้ายคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 นักวิชาการหลายฝ่ายมีข้อ สันนิฐานว่า องค์ต้นราชวงศ์จริงๆ อาจเป็นชาวอินเดียมากกว่าคนท้องถิ่น เนื่องจากกษัตริย์มีพระนามลงท้าย "วรมัน" ซึ่งตรงกับรายพระนามกษัตริย์ในอินเดียหลายพระองค์ และเคยมีชื่อราชวงศ์วรมัน (Varman dynasty) ปกครองใน อินเดียช่วงเวลาเดียวกับ สมัยคุปตะและหลังคุปตะ ทั้งในอินเดียเหนือและอินเดียใต้
KINGS OF CHIANG SAEN
"Chiang Saen (เชียงแสน), the Yonok Chiang Saen Kingdom (12th-16th century BE), was an ancient kingdom of the Thai people since the 13th century BE. It was located in northern Thailand, where present-day Chiang Saen District, Chiang Rai Province, is situated. This location became the first settlement after the Thai people migrated to escape Chinese invasions. King Singhanavati, the son of King Pilokok, founded the Yonok Chiang Saen or Yonok Nakhon kingdom, which was considered a magnificent and grand kingdom."
CHIANG SAEN (เชียงแสน) อาณาจักรโยนกเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 12-16) เป็นอาณาจักรเก่าแก่ของชนชาติไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่13 ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันคืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ตั้งถิ่นฐานครั้งแรก หลังจากที่ชนชาติไทยได้อพยพหนีการรุกรานของจีนลงมา โดยพระเจ้าสิงหนวัติ โอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะได้เป็น ผู้ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน หรือโยนกนาคนครขึ้น นับเป็นอาณาจักรที่มีความยิ่งใหญ่และสง่างาม
AVALOKITESHVARA IN CHAIYA ART
"Srivijaya (อาณาจักรศรีวิชัย) or the Kingdom of Sribho was founded by the Sailendra dynasty during the collapse of the Funan Kingdom. Its territory covered the Malay Peninsula, Java Island, Sumatra Island, the Straits of Malacca, the Sunda Strait, and the southern region of present-day Thailand, with its center located in the area of present-day Surat Thani Province, Thailand."
SRIVIJAYA (อาณาจักรศรีวิชัย) หรือ อาณาจักรศรีโพธิ์ ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีของประเทศไทยในปัจจุบัน
THE BAN PHLU LUANG DYNASTY
"BAN PHLU LUANG AYOTHAYA (Late Ayutthaya) The Ayutthaya Kingdom under the Ban Phlu Luang Dynasty weakened over time due to persistent internal conflicts, causing divisions among people. In the latter part of the dynasty, King Suriyamarin (King Ekkathat) faced external threats from the Burmese Konbaung dynasty, which besieged Ayutthaya from both the north and the south, encircling it for 1 year and 2 months. Ultimately, Ayutthaya fell. With the death of King Suriyamarin during the second fall of Ayutthaya, the Ban Phlu Luang Dynasty came to an end."
BAN PHLU LUANG AYOTHAYA (อยุธยาตอนปลาย) อาณาจักรอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย ในช่วงปลายของราชวงศ์ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ต้องเผชิญหน้ากับศึกภายนอกจากกองทัพอังวะ จากราชวงศ์โกนบองซึ่งยกมาจากทางเหนือและใต้จนล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 1 ปี 2 เดือน จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกในที่สุด เมื่อสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงสวรรคตในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองจึงถือว่าเป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์บ้านพลูหลวง
APSARA OF LAVO
"LAVO (Lavo Kingdom), also called Lavarat or Lavo-yo-thiya, was an ancient kingdom in a powerful region of the past, located on the left bank of the Chao Phraya River. It was established around the end of the Dvaravati period, with its center of power in Lopburi (currently Lopburi). After the founding of the Ayutthaya Kingdom, Lavo became part of Ayutthaya. In Chinese documents, Lavo was referred to as 'Luo Hu.'"
LAVO (อาณาจักร ละโว้) บ้างเรียก ลวรัฐ หรือ ละโว้โยทิยาเป็นอาณาจักรโบราณในมณฑลอำนาจแห่งหนึ่งในอดีต ซึ่งตั้งอยู่ บนฝั่งซ้ายของลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถาปนาขึ้นราวปลายยุคทวารวดี มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ลวปุระ (ปัจจุบันคือลพบุรี) หลังการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรละโว้ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ชื่อเรียกของ อาณาจักรละโว้ในเอกสารจีนคือ หลอหู
THE LEGEND OF THAO SRI SUDACHAN
"LAVO AYOTHAYA (Early Ayutthaya) King U-Thong was the first king of the U-Thong Dynasty and the founder of Ayutthaya as the capital. He reigned for 18 years (March 12, 1350–1369). He was influential in the Ayutthaya court in both religious ceremonies and by sending women to serve as concubines to the king. This dynasty saw women entering royal service, such as Queen Mother Sri Suriyothai, whose power increased with the birth of her son, Somdet Phra Yodfa. Her status was elevated above the other three consorts."
LAVO AYOTHAYA (อยุธยาตอนต้น) พระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อู่ทองและเป็นผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาอันเป็นราชธานี ทรงครองราชย์เป็นเวลาถึง 18 ปี (12 มีนาคม พ.ศ. 1893–พ.ศ. 1912) มีบทบาทในราชสำนักอาณาจักรอยุธยาทั้งด้านพิธีกรรมทางศาสนา และการส่งสตรีเข้ารับ ราชการฝ่ายในเป็นพระสนมในพระมหากษัตริย์ และราชวงศ์นี้มีสตรีเข้ารับราชการเป็นพระมเหสีฝ่ายซ้าย คือ แม่หยัวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งเพิ่มพูนอำนาจจากการประสูติกาลพระราชโอรสคือสมเด็จพระยอดฟ้า ทำให้พระนางมีฐานะที่สูงส่งกว่าพระชายาอีกสามพระองค์
THE ICONIC MUSICIANS OF KHU BUA
"Dvāravatī (ทวารวดี) is a historical period in Thai archaeology and art history, dating approximately from the 12th to the 16th century BE. Additionally, Dvāravatī represents the 'Dvāravatī culture', referring to similar cultural characteristics reflected through archaeological evidence discovered in Dvāravatī communities or ancient cities. The Dvāravatī culture is rooted in the late prehistoric culture, blended with Indian culture that spread to this region, leading to social and cultural changes among the people in various aspects, including religion, city-building, and social order."
DVARAVATI (ทวารวดี)
สมัยทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะของประเทศไทย มีอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 12–16 นอกจากนี้ทวารวดียังมีสถานะเป็น "วัฒนธรรมทวารวดี" โดยหมายถึงลักษณะทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน อันสะท้อนผ่านหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้ค้นพบตามชุมชน หรือเมืองโบราณทวาราวดี วัฒนธรรมทวารวดีมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ผสมกับวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่หลายเข้ามายังภูมิภาคนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมของผู้คนแถบนี้ในแง่มุมต่างๆ ทั้งการนับถือศาสนา การสร้างบ้านเมือง และระเบียบแบบแผนทางสังคม
สมัยทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะของประเทศไทย มีอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 12–16 นอกจากนี้ทวารวดียังมีสถานะเป็น "วัฒนธรรมทวารวดี" โดยหมายถึงลักษณะทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน อันสะท้อนผ่านหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้ค้นพบตามชุมชน หรือเมืองโบราณทวาราวดี วัฒนธรรมทวารวดีมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ผสมกับวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่หลายเข้ามายังภูมิภาคนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมของผู้คนแถบนี้ในแง่มุมต่างๆ ทั้งการนับถือศาสนา การสร้างบ้านเมือง และระเบียบแบบแผนทางสังคม
SURYA THE GOD OF SUN
"Si Thep (ศรีเทพ) is an ancient city dating back to the 8th-18th Buddhist centuries. It was a significant city during the Dvaravati era, with connections to various religious beliefs and sects, including Theravada and Mahayana Buddhism, as well as Brahmanism-Hinduism. This included beliefs in the Saura sect (worship of Surya), the Vaishnava sect (worship of Vishnu), and the Shaiva sect (worship of Shiva). Si Thep established cultural connections with neighboring civilizations, such as Indian, Khmer, and other Dvaravati cultures. Archaeological and artistic evidence remains, showcasing its role as a center of civilization and trade, illustrating the coexistence of diverse religious communities during the same period."
SI THEP (ศรีเทพ) เมืองโบราณศรีเทพมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8-18 เป็นเมืองที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งในสมัยทวารวดี มีการติดต่อรับคติ ความเชื่อทางศาสนาหลายศาสนา และนิกาย ทั้งพุทธศาสนาแบบเถรวาท และมหายาน รวมไปถึงศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในเสาวระนิกาย (นับถือพระสุริยะ) ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุ) และไศวนิกาย (นับถือพระศิวะ) มีการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมใกล้เคียงตั้งแต่ วัฒนธรรมอินเดีย ขอม และทวารวดีจากแหล่งอื่นๆ โดยยังหลงเหลือหลักฐานทางโบราณคดีและงานศิลปกรรม สามารถแสดงความเป็น ศูนย์กลางของอารยธรรมและการค้า แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่ต่างศาสนาในระยะเวลาเดียวกัน
CHIRAPRAPHA THE QUEEN OF LANNA
"LANNA(ล้านนา) The historical kingdom of the Tai Yuan people, located in the upper northern region of present-day Thailand, including Sipsongpanna. It covered 8 northern provinces, which are now Chiang Mai, Lamphun, Lampang, Chiang Rai, Phayao, Phrae, Nan, and Mae Hong Son, with Chiang Mai as the capital. Lanna had its own language, script, culture, and traditions. It was once governed as a tributary state by the Toungoo Dynasty, the Ayutthaya Kingdom, and the Lan Xang Kingdom."
LANNA (ล้านนา) ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีต ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา ครอบคลุม 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบนในปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอนโดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเองเคยถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการหรือรัฐส่วยของ อาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านช้าง
2025 Calendar HONGSAWADEE x David Ryo
Presented by IDEO Entertainment
Crew
MODEL : Poowanet Netsuwan / Kanokporn Posrithong / Nitikorn Apichai / Salina Kampfrath / Sofia Sophieya / Naunjira Saeyang Bovornphan Phetmai / Thitipong Puangfuean / Napat Zen Youngblood / Jake Coates / Kanisond Sinma / Pannapat Wongsarattanasin Tammarak promrat / Jirayu Tucker / Pinky Pink / Fah Miku / Panthita Ratchawat / Worawalan Phutklang / Prasopchok jiraporn Pongthiptida Vajidsuwan / Naruemon Sittiwang / Wachiraporn Nantavas / Natthida Sompan / Thatphicha Thongdi / Anunya Thapan Surached Kannalae / Kansuda Chanakeeree / Sirawit Apimorn
MUA : Songkarn Punyadee / Kritsana Dowsouy / Kachain Ro Nooknik Makeup / Ying Dong / Biggy CM / Jane Nie / Nook5Makeup
Hair Stylist : Popy Vandom / Nooknik Makeup Thanarat Dachwongya / Tle Hair
Assistant : Peerapol Suwanakulpisan / Nat Manat / Every May / Jacky Digy / Crystal / Arinya Kasin Kaeowong
Stylist : Jakkarin Saam Jittratorn
Costumes : Hongsawadee Chiang Mai
Photographer : David Ryo