ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงพบว่านอกจากผ้าที่ทอขึ้นใช้เอง ยังมีการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเปอร์เซีย, อินเดีย และจีน ผ้าเหล่านี้เรียกว่า “ผ้านอก” เฉพาะผ้าที่นำเข้าจากประเทศอินเดียและเปอร์เซีย เรามักจะเรียกชื่อเมืองนั้นเป็นชื่อผ้า เช่น ผ้าอัตลัด มาจากเมืองอัตลัดในอินเดีย หรือเป็นชื่อจากภาษาเดิมตามประโยชน์การใช้สอย เช่น ผ้าสุจหนี่ ผ้าเยียรบับ สำหรับประเทศอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่นำเข้าผ้ามาจำหน่ายในไทยนั้น ช่างไทยจะออกแบบลวดลายส่งไปว่าจ้างช่างอินเดียในประเทศอินเดียให้เขียนและพิมพ์ตามต้นแบบ (เช่นเดียวกับ การเขียนลายกระเบื้อง ลายเครื่องถ้วย ส่งไปให้ช่างจีนทำในประเทศจีน) จึงมีการผสมผสานทั้งลวดลายไทยและอินเดีย เมื่อส่งกลับมาขายในประเทศไทย จึงเรียกผ้านี้ว่า “ผ้าลายอย่าง” และ “ผ้าลายนอกอย่าง” ในยุคต่อๆ มา (ศิลปวัฒนธรรม:วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2561)
Thai Traditional by Hongsawadee Chiang Mai, Thailand
ผ้าลายอย่าง : ผ้าพิมพ์สยาม
Photographer : David Ryo
Makeup Artist : Jane Nie / Songkarn Punyadee / Siripitchakorn Khanngern